ReadyPlanet.com
dot dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 20 คน
dot


 ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ
ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ
เว็บไซร์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจในการให้บริการของประชาชน  เทศบาลตำบลฝายกวาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
คำขอร้องจัดเก็บกิ่งไม้ใบไม้
E-Learning
กิจกรรมงานพัฒนาชุมชน เทศบาลตำบลฝายกวาง
คู่มือประชาชน
แหล่งท่องเที่ยวตำบลฝายกวาง
ศูนย์ยุติธรรมชุมชน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียน ร้องทุกข์


ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ และพันธกิจการพัฒนา article

ยุทธศาสตร์

          ในการพัฒนาเทศบาลตำบลฝายกวาง ได้ใช้ข้อมูลจากสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ ที่มาจากสภาพปัญหา และความต้องการของประชาชน ประกอบด้วย นำนโยบายของรัฐ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนพัฒนาอำเภอมาบูรณาการเป็นแนวทางในการพัฒนาเทศบาล เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และสามารถปรับตัวได้ในโลกแห่งการแข่งขันยุคโลกาภิวัฒน์  ซึ่งเทศบาลตำบลฝายกวางได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาไว้  5  ด้านดังนี้ 

1. ยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เป้าประสงค์ - ประชาชนสามารถดูแลรักษาจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียว

ส่งเสริม อนุรักษ์และฟื้นฟูการจัดการ สิ่งแวดล้อมด้วยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

ตัวชี้วัด   - ร้อยละของจำนวนโครงการด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ค่าเป้าหมาย

2566

2567

2568

2569

2570

20

20

20

20

20

กลยุทธ์

                    แนวทางที่ 1พัฒนาสร้างจิตสนึกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   แนวทางที่ 2 ส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียว

                   แนวทางที่ 3 ส่งสริมการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

                   แนวทางที่ 4 ขุดลอกแหล่งน้ำกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรม

 

2. ยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

เป้าประสงค์ - ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ประชาชนในตำบลเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ลดรายจ่ายในครัวเรือน

ผลิตภัณฑ์ในตำบลสามารถทัดเทียมที่อื่น มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ประชาชนมีอาชีพเสริม         

ตัวชี้วัด   1. จำนวนโครงการด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

            2.  ร้อยละของประชาชนที่มีทักษะในการผลิตผลทางเกษตรอินทรีย์

            3. ร้อยละครัวเรือนและกลุ่มอาชีพที่มีทักษะในการประกอบอาชีพ

 

ค่าเป้าหมาย

2566

2567

2568

2569

2570

30

30

30

30

30

กลยุทธ์

                    แนวทางที่ 1 ส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอินทรีย์

                    แนวทางที่ 2 พัฒนาด้านการเกษตร เพื่อการบริโภค การซื้อขายภายในประเทศและส่งออก

          แนวทางที่ 3 พัฒนาธุรกิจขนาดเล็ก ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัวและผู้ประกอบการ

      SMEs

                    แนวทางที่ 4 ส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน

                    แนวทางที่ 5 พัฒนาการพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุนและกิจการสหกรณ์

                    แนวทางที่ 6 พัฒนาสารสนเทศเพื่อการบริหาร การบริการและการแข่งขัน

3. ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

เป้าประสงค์ - ก่อสร้าง ปรับปรุง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในตำบล และระหว่างตำบลให้เป็นมาตรฐาน

ประชาชนมีน้ำไว้อุปโภคบริโภค ปลอดภัย และทำการเกษตรอย่างทั่วถึง

ตัวชี้วัด   1. ร้อยละของความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

            2. ร้อยละของจำนวนโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน

ค่าเป้าหมาย

2566

2567

2568

2569

2570

80

80

80

80

80

กลยุทธ์

          แนวทางที่ 1 พัฒนาและปรับปรุงระบบคมนาคมขนส่งให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น

          แนวทางที่ 2 พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ  เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนสู่ชุมชน                              ที่น่าอยู่

          แนวทางที่ 3 พัฒนาแหล่งน้ำ

4. ยุทธศาสตร์พัฒนาสังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

เป้าประสงค์ - สตรี ผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ด้อยโอกาสได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษา เรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ประชาชนได้สืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น เด็กและเยาวชนมีสุขภาพร่างกาย แข็งแรง

ตัวชี้วัด   1.  ร้อยละของจำนวนโครงการด้านการพัฒนาสังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

            2. ร้อยละประชาชนผู้มีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตดี

            2. ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการ

            3. ร้อยละประชาชนที่ได้รับการศึกษาและศึกษาเพิ่มขึ้น

            4. จำนวนภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้น

ค่าเป้าหมาย

2566

2567

2568

2569

2570

80

80

80

80

80

 

 

กลยุทธ์

          แนวทางที่ 1 ส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผุ้ป่วยเอดส์ และผู้ด้อยโอกาส

          แนวทางที่ 2 ส่งเสริมด้านสาธารณสุขและอนามัย

          แนวทางที่ 3 ส่งเสริมการจัดระเบียบของหมู่บ้าน/ชุมชน

          แนวทางที่ 4 ส่งเสริมและป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

          แนวทางที่ 5 ส่งเสริมเพิ่มศักยภาพการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของศูนย์ อปพร.

          แนวทางที่ 6 ส่งเสริมกีฬา และนันทนาการ ในตำบล

          แนวทางที่ 7 ส่งเสริมการศึกษา คุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม การศาสนาจารีตประเพณี

                   แนวทางที่ 8 อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น

          แนวทางที่ 9 ส่งเสริมกิจกรรมเด็กและเยาวชน

5. ยุทธศาสตร์พัฒนาการเมืองการบริหาร

เป้าประสงค์ - พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ภายในองค์กรและชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้น ประชาชนมีความพึงพอใจในการบริการจากหน่วยงาน

ตัวชี้วัด   1. ร้อยละของข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์ที่ได้รับการแก้ไข

            2. ร้อยละผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมืองและสังคม

            3. ร้อยละของการบริการที่สามารถลดขั้นตอนและระยะเวลาให้บริการ

            4. ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาขีดสมรรถนะตามแผนพัฒนาบุคลากร

ค่าเป้าหมาย

2566

2567

2568

2569

2570

60

60

60

60

60

กลยุทธ์

                   แนวทางที่ 1 ปรับปรุงคุณภาพให้บริการประชาชน

                   แนวทางที่ 2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

                   แนวทางที่ 3 ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย

                   แนวทางที่ 4 ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในองค์กร

                   แนวทางที่ 5 ส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพบุคลากร

   2.4 จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning)

 

           จากประเด็นความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13  ยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์จังหวัด  จะเห็นได้ว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจนในการนำมาเป็นแนวทางกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจนจะเป็นการเตรียมการพัฒนา  เป็นการนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในท้องถิ่นให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของชุมชน ให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน สังคมเศรษฐกิจภายในชุมชนให้มีคุณภาพ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในชุมชนอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เทศบาลตำบลฝายกวาง จึงได้กำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) คือ "ฝายกวางเป็นเมืองพัฒนา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

 




เกี่ยวกับเทศบาล

ข้อมูลทั่วไป article
จำนวนครัวเรือนและประชากร article
ที่ตั้งและอาณาเขตพื้นที่ตำบลฝายกวาง article
เกี่ยวกับสัญลักษณ์ของเทศบาลตำบลฝายกวาง article
อำนาจหน้าที่และภารกิจตามกฎหมาย article



"ถิ่นสามวัฒนธรรม งามล้ำน้ำใจ ยึดมั่นในธรรมะ สักการะครูบาคำหล้า"